ตัวอย่าง

ตัวอย่างนี้เป็นการสรุปยอดการมาเรียนของนักเรียนโรงเรียนวิเศษไชยชาญ "ตันติวิทยาภูมิ" ปีการศึกษา 2548 ภาคเรียนที่ 1

1. เลือกกลุ่มข้อมูลที่ต้องการสร้างกราฟ ปกติจะเลือกทั้งส่วนที่เป็นข้อมูล และชื่อแถวหรือคอลัมน์ของข้อมูลนั้นด้วย ( ยกเว้นไตเติล )

2. คลิกปุ่ม Chart Wizard ( ตัวช่วยสร้างแผนภูมิ )

3. เลือกประเภทกราฟจากรายการในช่อง Chart Type ( ชนิดแผนภูมิ ) เช่น ถ้าใช้กราฟแท่ง เลือก Column ( คอลัมน์ )

4. เลือกประเภทกราฟจากรายการในช่อง Chart sub Type ( ชนิดย่อยของแผนภูมิ )

5. คลิกปุ่ม กดค้าไว้เพื่อดูตัวอย่าง ( Press and hold to View Sample )

6. ถ้ายังไม่ถูกใจ ให้กลับไปทำข้อ 3-5 ใหม่ ถ้าพอใจแล้วให้คลิกปุ่ม ( ถัดไป )

7. เลือกว่าจะนำข้อมูลในแนวคอลัมน์หรือแถวมาเรียง เช่น ในตัวอย่างข้อมูลแต่ละชุดอยู่ในแนวคอลัมน์ ดังนั้นจึงเลือกตัวเลือกคอลัมน์ ( column ) ปกติถ้าเป็นมิติเดียวคือมีหัวแถวหรือหัวคอลัมน์อย่างใดอย่างหนึ่ง Excel มักจะเลือกให้ไม่ผิด

8. คลิกปุ่ม เสร็จสิ้น ( finish ) ก็จะได้รูปภาพบนเวิร์กชีต

9. ปรับแต่งกราฟ เช่นคำอธิบายสีกราฟ ( Legend ) ถ้าไม่ต้องการให้คลิกเลือกส่วนนั้นแล้วกด Delete

10. คลิกเมาส์ครงพื้นที่นองกราฟ เพื่อจบการทำงานกับกราฟ

เลือกใช้กราฟประเภทไหนดี

ประเภทกราฟ

เหมาะสำหรับ

กราฟแท่งแนวตั้ง

เปรียบเทียบข้อมูลเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนมักใช้กับจำนวนของสิ่งต่างๆ เช่น จำนวนเงิน จำนวนคน

กราฟแท่งแนวนอน

เหมือนกราฟแท่งแนวตั้ง เพียงแต่แท่งกราฟจะอญุ่ในแนวนอน

กราฟเส้น

แสดงค่าข้อมูลและแนวโน้วภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

กราฟวงกลม

แสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลแต่ละค่ากับผลรวมของข้อมูลทั้งหมด

กราฟ XY

แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลข 2 กลุ่ม เพื่อการวิเคราะห์แบบเชิงเส้น ( linear regression ) หรือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขหลายชุด เพื่อดูการแบ่งช่วงหรือจับกลุ่มของข้อมูล

กราฟพื้นที่ ( Area )

คล้ายกับเส้น แต่จะแสดงให้เห็นผลรวมและแนวโน้วผลรวมของข้อมูลทั้งหมด

กราฟรูปโดนัท

คล้ายกราฟวงกลมแต่ซับซ้อนกว่า เพราะสามารถเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไปได้

กราฟเรดาร์

แสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในแต่ละชุดในรูปของขอบเขตพื้นที่ข้อมูลชุดนั้นๆครอบครองโดยข้อมูลแต่ละชุดจะมีจุศูนย์กลางร่วมกัน

กราฟพื้นผิว

ใช้หาจุดสมดุลของผลลัพธ์จากตัวแปร 2 ตัว โดยตังหนึ้งอยู่ทางแกน X และอีกตัวอยู่ทางแกน Y พื้นผิวในกราฟที่มีสีเดียวกัน คือจุดที่ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสองให้ผลลัพธ์ออกมาเท่าหรือใกล้เคียงกัน

กราฟฟองสบู่

คล้าบกับกราฟ XY ( scatter ) แต่มีตัวแปรได้ถึง 3 ตัวโดยตัวที่ 3 จะแสดงด้วยขนาดของฟองสบู่

กราฟหุ้น (stock )

ใช้แสดงความเปลี่ยนแปลงของข้อมูลใดๆ (ที่ประกอบไปด้วย ค่าสูงสุด, ต่ำสุดและค่าอื่นๆ ) ณ แต่ละจุดของเวลาภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยมากมักใช้กับราคาหุ้นเพราะสามารถแสดงราคาสูงสุด - ต่ำสุด และราคาปิดได้ดี

กราฟแท่งรูปทรงทรงกระบอก

เหมือนกราฟแท่ง แต่แสดงค่าแสดงค่าข้อมูลเป็นรูปทรงกระบอกแทน

กราฟแท่งรูปทรงกรวย

เหมือนกราฟแท่ง แต่แสดงค่าข้อมูลเป็นรูปทรงกรวย

กราฟแท่งรูปปิรามิด

เหมือนกราฟแท่ง แต่แสดงค่าของข้อมูลเป็นรูปปิรามิด

<< Home >> _ <<ขึ้นข้างบน>> _ <<ย้อนกลับ>>


Free Web Hosting